วิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนาเถรวาท

        การปฏิบัติพระกรรมฐานในพระพุทธศาสนามีหลายวิธีด้วยกัน แต่หลักการของฝ่ายเถรวาทนั้นมีความเชื่อและยอมรับการปฏิบัติกรรมฐานตามแนวที่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาว่าเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เนื่องจากกรรมฐานเป็นอุบายธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดนิวรณ์ จึงประกอบด้วยวิธีการต่าง  ตามประเภทแห่งนิวรณ์ธรรม ผู้เจริญกรรมฐานจะต้องรู้จักเลือกปฏิบัติเพื่อให้เหมาะแก่อุปนิสัยของตน จึงจะทำจิตให้ควรแก่การงานได้ การนำเอาหลักพุทธธรรมหรือในพระไตรปิฎกมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดโลกุตตรปัญญาโดยมีจุดมุ่งหมายคือพระนิพพาน มีความสำคัญที่สุดสำหรับพุทธศาสนิกชนตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ในการปฏิบัติหน้าที่ของชาวพุทธด้วยความบริบูรณ์โดยคำนึงถึงหลักพระสัทธรรม  ประการ ที่ประกอบด้วย ปริยัติ (คันถธุระปฏิบัติ (วิปัสสนาธุระและ ปฏิเวธ ซึ่งได้แก่ การได้บรรลุมรรคผลนิพพานอันเป็น แก่นแท้ของพุทธศาสนา หลักการปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้คือหลักสติปัฏฐาน  หรือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นเอกายน มรรค ที่เป็นวิธีปฏิบัติทางเดียวเท่านั้น ดังปรากฏในพระไตรปิฎกไว้ว่า “ทางนี้เป็นทางอันเอกหรือเป็นทางเดียวเท่านั้นเพื่อทำ กาย วาจาใจ ของสรรพสัตว์ให้บริสุทธิ์ เพื่อดับความเศร้าโศกและความคร่ำครวญ เพื่อดับความทุกข์กาย และความทุกข์ใจ เพื่อบรรลุฌาณคืออริยมรรคและเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ได้แก่ สติปัฏฐานสูตร  การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นหนึ่งในห้าวิธีของการบรรลุธรรม จากคำสอนของพระพุทธองค์ที่ปรากฏใน วิมุตติสูตร หรือ วิมุตตายตนะ (เหตุแห่งความหลุดพ้นไว้  ประการ  คือ การฟังธรรม  การแสดงธรรม การสาธยายธรรม การพิจารณาธรรม และ สมาธินิมิต

         วิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นวิชาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบเป็นวิชาที่ใช้ปัญญาพิจารณารู้ตามความเป็นจริง ตามสภาวะธรรมทั้งหลายเพื่อหลุดพ้นจาก อาสวะกิเลสทั้งปวง สู่ความพ้นจากกิเลส กล่าวคือ พระนิพพาน เป็นศาสตร์เดียวที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องหลุดพ้นไปจากอำนาจการครอบงำของอาสวะกิเลสคือการละจากตัณหาทั้งปวง ตัณหาคือความอยาก อยากได้นั้น อยากได้นี้ ตั้งแต่เบาบางจนกระทั่งหมดจด ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิงจากการโอปนยิโกธรรมที่ฟัง ที่แสดง ที่สาธยาย ที่พิจารณา ที่สมาธินิมิตก็สามารถเกิดวิปัสสนากรรมฐานได้ทุกขณะจิตพร้อมด้วยกายพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้ได้ทราบถึงศักยภาพในการบรรลุธรรมตลอดจนการสอนกรรมฐาน ได้สะท้อนให้เห็นปัจจัยที่หนุนเนื่องให้เกิดภาพมิติของการดำรงชีวิต การเลือกเส้นทางชีวิต เพื่อการอุทิศตนเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่สังคมได้เป็นอย่างดี

         วิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง การรู้ในอริยสัจ  คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธและมรรค เป็นต้น ส่วนอารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้แก่ ขันธ์  อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ  และปฏิจจสมุปบาท อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานย่อให้สั้นก็คือมีรูปกับนามที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น และจุดมุ่งหมายของวิปัสสนากรรมฐานคือ เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์ สะอาด หมดจดจากอาสวะกิเลสทั้งปวงจนกระทั่งถึงบรรลุมรรค ผล       นิพพา


Post a Comment (0)
Previous Post Next Post